 | บทความพิเศษ: กองทัพเรือฟิลิปปินส์จัดหาเรือมือสองจากหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา
สำนักข่าว GMA News ของฟิลิปปินส์รายงานว่า กองทัพเรือฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในระหว่างการจัดหาเรือตรวจการณ์ชั้นแฮมิงตัน (Hamilton class US Coast Guard cutter) จากหน่วยยามฝั่งของสหรัฐอเมริกา (US Coast Guard) เพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ซึ่งเรือชั้นนี้จะกลายเป็นเรือชั้นที่ใหญ่ที่สุดในกองทัพเรือฟิลิปปินส์เช่นกัน |
|
 | บทความพิเศษ: คำสั่งผลิตจรวดหลายลำกล้องล๊อตใหญ่ สำหรับกองทัพสหรัฐฯและมิตรประเทศ
เมื่อเดือนกรกฏาคม 2553 ที่ผ่านมา บริษัท Lockheed Martin Missile and Fire Control ได้ชนะการประมูลสัญญามูลค่า? 469.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อผลิตระบบจรวดนำวิถีแบบหลายลำกล้อง จำนวน? 4,770? ท่อ (จรวด 277 มม. 6 ลูกต่อท่อ) และจรวดแบบลดระยะสำหรับการฝึก? (Reduced range rocket pods :RRPR) จำนวน 530 ท่อ? โดยการผลิตร้อยละ 15 จะดำเนินการที่เมืองดัลลาส รัฐเท็กซัส ส่วนอีกร้อยละ 85 จะดำเนินการที่แคมเด็น? อริสโซนา? และกำหนดการส่งมอบในอีก 3 ปีข้างหน้า (30 มิ.ย.56) ซึ่งการสั่งซื้อจะรวมการทำสัญญาทั้งหมดโดย? US AMCOM Contracting Center ที่นอกจากการสั่งซื้อยุทโธปกรณ์แล้วยังรวมถึงการสนับสนุน อะไหล่ และการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย |
|
 | บทความพิเศษ: กัมพูชาใช้จรวดหลายลำกล้องต่อไทย ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ภูมะเขือ
การปะทะกันที่เกิดขึ้นกินเวลาราว 3 ชั่วโมงบริเวณภูมะเขือ จุดเดียวกับที่เคยเกิดการปะทะกันในครั้งก่อน โดยทางฝ่ายกัมพูชาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกเตียร์ บัน กล่าวว่าไทยล้ำแดนก่อน กัมพูชาจึงจำเป็นต้องยิงตอบโต้ทางการไทยกล่าวว่าทางกัมพูชายิงมาก่อน ทางการไทยจึงต้องยิงเตือน หลังจากนั้นกัมพูชาจึงยิงอาวุธหนักเข้ามา ไทยจึงต้องยิงตอบโต้ |
|
|
 | บทความพิเศษ: ลำดับเหตุการณ์การปะทะ ระหว่างไทย-กัมพูชา วันที่ 4-7 ก.พ. 2554
ไทยและกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านที่มีปัญหาขัดแย้งกันมาตลอดตั้งแต่ในอดีตชนวนปัญหาที่สำคัญคือเส้นเขตแดนที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้การปะทะกันรอบล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้นับเป็นการปะทะกันครั้งที่สามตั้งแต่เกิดกรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารในเดือนกรกฏาคม 2551 แต่ครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุด และเป็นการปะทะกันที่รุนแรงที่สุดระหว่างทั้งสองฝ่ายในรอบหลายปีสถานการณ์พัฒนาขึ้นจากปัญหาป้ายและธงกัมพูชาบนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ทั้งสองฝ่ายต่างเสริมกำลังเข้าประชิดชายแดนอย่างเต็มที่ จนสถานการณ์เข้าขั้นแตกหักหลังจากมีการปะทะระหว่างกัน |
|
|
|
 | บทความพิเศษ: ประเทศอินเดียก้าวขึ้นเป็นลำดับหนึ่งของโลกในการนำเข้าอาวุธ
ในปัจจุบันประเทศต่างๆ มีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อการป้องกันประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก โดยเมื่อปี พ.ศ.2552 ทั่วโลกมีการใช้จ่ายทางทหารไปกว่า 1,531 พันล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก (YEARBOOK 2010 MILITARY EXPENDITURE , Stockholm International Peace Research Institute :SIPRI ) รวมถึงประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างสหรัฐฯ ก็ยังเพิ่มรายจ่ายยอดการทหารขึ้นกว่า 47,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2551 ประมาณร้อยละ 5.9 ทั้งนี้จากการจัดลำดับ 15 ประเทศที่มีการใช้จ่ายด้านการทหารสูงสุดในช่วง ปี พ.ศ. 2551 ได้แก่สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย ญี่ปุ่น เยอรมัน ซาอุดิอาระเบีย อินเดีย อิตาลี บราซิล เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย และสเปน แต่สถิติจากสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพนานาชาติแห่งสต็อกโฮม (SIPRI) ได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีประเทศบางประเทศที่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านนี้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะประเทศในแถบทวีปเอเซีย ที่ในปี พ.ศ.2551 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.9 หากจำกัดวงแคบเข้าไปจะพบว่าประเทศในแถบเอเซียและตะวันออกกลางมีปริมาณการจัดหาวุธยุโธปกรณ์เพิ่มมากผิดปกติ โดยเฉพาะจากรายงานของสถาบันดังกล่าวล่าสุดเมื่อ 14 มี.ค.54 มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าอินเดียได้ก้าวขึ้นเป็นประเทศนำเข้าอาวุธอันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว คิดเป็นปริมาณการนำเข้าอาวุธถึงร้อยละ 9 ของจำนวนการซื้อขายอาวุธทั้งโลก ซึ่งอาวุธที่นำเข้าส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 82 ของการนำเข้าทั้งหมดของประเทศมาจากรัสเซีย |
|
 | บทความพิเศษ: Chengdu J-20 เครื่องบินรบ Stealth สัญชาติจีน
ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา จีนได้ทำการเปิดตัว Chengdu J-20 และได้ทำการทดสอบบนรันเวย์ครั้งแรกปลายปี 2010 และทำการทำสอบบินเป็นครั้งแรกในช่วงต้นเดือนมกราคมของปีนี้ โดยที่การทดสอบในครั้งนั้นทางรัฐบาลจีนไม่ได้มีการระงับการเผยแพร่ภาพไม่ว่าจะทางสื่อออนไลน์หรือออฟไลน์ รวมทั้งได้สร้างความประหลาดใจให้กับเลขาธิการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา นายโรเบิร์ต เกตส์ ถึงความคืบหน้าของโครงการเครื่องบิน Stealth ที่เกินกว่าการคาดการณ์ตามที่หน่วยข่าวได้เคยให้รายงานไว้ ซึ่งการเปิดตัวในครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นความตั้งใจในการแสดงขีดความสามารถในการพัฒนาเครื่องบินรบแบบยุคที่ 5 ต่อสาธารณะ เพราะทางการจีนไม่ได้มีการวางกำลังรักษาความปลอดภัยบริเวณรอบๆสนามบินที่ใช้ในการทดสอบ |
|
 | บทความพิเศษ: ค่าใช้จ่ายของปฏิบัติการทางทหารในลิเบีย
ในวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2554 นายบารัค โอบาม่า ประธานาธิปดีของสหรัฐฯ ได้แถลงถึงจุดยืนและบทบาททางทหารของสหรัฐฯในปฏิบัติการ Odyssey Dawn ว่าสหรัฐฯจะไม่ส่งกองกำลังทางบกเข้าไปในลิเบียและจะทำหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติการของนาโต้เท่านั้น โดยได้มีการส่งมอบการบังคับบัญชาให้กับนาโต้ในวันพุธที่ 29 มีนาคม 2554 ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นของประชาชนชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ที่เห็นด้วยและให้การสนับสนุนกับการโจมตีกองกำลังของผู้นำรัฐบาลลิเบีย อีกทั้งยังได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย บัน คี มูน ที่ให้การสนับสนุนการกำหนดเขตห้ามบินและการโจมตีกองกำลังของพันเอกกัดดาฟี เพื่อยับยั้งความหายนะที่เกิดจากการสูญเสียชีวิตของประชาชนชาวลิเบียที่ถูกผู้นำเผด็จการของลิเบีย พันเอกกัดดาฟีใช้ความรุนแรงในการปราบปรามด้วยกำลังทหารและอาวุธหนักเช่นรถถังและเครื่องบินรบ? ซึ่งทางทำเนียบขาวได้ให้คำจำกัดความของการกระทำดังกล่าวว่า ?No Mercy? หรือ ?ไร้ความปราณี?
|
|
 | บทความพิเศษ: ยกระดับความพร้อมด้านกำลังรบด้วยเทคโนโลยี Simulation
ความก้าวหน้าด้านระบบจำลองเป็นไปอย่างรวดเร็วสืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิตอลมัลติมีเดีย และระบบแสดงภาพ เสียง ที่มีความเจริญรุดหน้าอย่าง ก้าวกระโดด โดยในอดีตการแสดงภาพจำลองทำได้ในแบบของ Polygon ต่อมาในปัจจุบันสามารถแสดงภาพในแบบ High Definition (HD) ที่ใกล้เคีงกับความเป็นจริงมากขึ้น อีกทั้งระบบประมวลผลที่มีความเร็วสูง มีขนาด เล็กลงและที่มีใช้ในเชิงพาณิชย์ทั่วไป ทำให้เทคโนโลยีมัลติมีเดียจึงได้ถูกนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการจำลองการฝึกเสมือนจริง บนลง Platform ที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์มือถือแบบ iPhone ในราคาไม่กี่หมื่นบาทจนไปถึงศูนย์ฝึกทางยุทธวิธี ที่มีมูลค่าถึงสามพันล้านเหรียญสหรัฐ |
|
 | บทความพิเศษ: แนวโน้มการจัดหาเรือดำน้ำ ของ ทร. ประเทศต่างๆ: รักษาสมดุลหรือการแข่งขันทางอาวุธ
เรือดำน้ำหรือ เรือ ส. (submarines)? เป็นอาวุธที่ช่วยให้กองทัพเรือมีความคล่องตัวในการวางแผน และการดำเนินตามแผนการรบทางเรือ เนื่องจากความพิเศษของเรือดำน้ำที่ผสมระหว่างคุณลักษณะการร่องหนและอาวุธที่ทรงพลังทำให้เป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ในภารกิจที่หลากหลาย ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถตรวจจับการปฏิบัติการของเรือดำน้ำได้ และปฏิบัติการได้ตามลำพังไม่ต้องการการสนับสนุนคุ้มครองเหมือนเรือประเภทอื่นๆ ด้วยลักษณะโดดเด่นของเรือดำน้ำที่เข้าสู่เป้าหมายได้แบบร่องหน ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครได้ยินเสียงทำให้การใช้อาวุธสำคัญของเรือดำน้ำได้แก่ ตอร์ปิโดสามารถเข้าประชิดเป้าหมายเพื่อทำการยิงได้ในระยะใกล้จนข้าศึกไม่สามารถหลบหลีกได้? โดยปกติแล้วประโยชน์จากเรือดำน้ำนั้นเป็นทั้งอาวุธป้องปรามเชิงยุทธศาสตร์ (strategic deterrence) และสามารถใช้ในภารกิจต่างๆ ได้แก่ การควบคุมและปฏิเสธการใช้ทะเล (sea control and denial) เตรียมพื้นที่ในการรบ (battlespace preparation)? การลาดตระเวน ค้นหา ตรวจการณ์ สอดแนม แทรกซึม หาข่าว จารกรรม วางทุ่นระเบิด คุ้มกันไปจนถึงการโจมตีเป้าหมายในทะเลและบนบก ดังจะเห็นได้จากบทบาทของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1? มาจนปัจจุบันในการปฏิบัติการ Odyssey Dawn ก็มีการปฏิบัติการของเรือดำน้ำเช่นกัน แต่จุดอ่อนของเรือดำน้ำคือขณะเดินทางบนผิวน้ำจะถูกโจมตีจากเรือหรืออากาศยานได้ง่าย ขณะดำจะใช้ความเร็วได้ต่ำ รวมทั้งหากถูกตรวจจับได้จะหลบหลีกหรือป้องกันตัวเองได้ยาก |
|
|
 | รายงานพิเศษ: สถานการณ์ศาลโลก ไทย vs. กัมพูชา (ตอนที่ 2: เปิดตัวทีมงานของประเทศไทย)
ศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด เป็นบุคคลสัญชาติออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร และเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายระหว่างประเทศเลาเตอร์แพคท์ที่เคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร (Lauterpacht Research Centre for International Law) ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติเมื่อปี ๒๕๓๕ และเป็นผู้รับผิดชอบยกร่างธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ ปี ๒๕๔๗ และข้อบทของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความรับผิดแห่งรัฐ ปี ๒๕๔๔ ศาสตราจารย์ครอว์ฟอร์ดเป็นทนายที่มีประสบการณ์ว่าความในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ มากที่สุดคนหนึ่งของโลก ทั้งในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ และศูนย์กลางระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทด้านการลงทุน (International Center for the Settlement of Investment Disputes ? ICSID) รวมทั้งเป็นอนุญาโตตุลาการในคดีต่าง ๆ อีกหลายคดี และเคยเป็นทนายให้แก่มาเลเซียในคดีเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์ (Pulau Batu Puteh) เมื่อปี ๒๕๕๑ และคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสิปาดันและลิติกัน นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ครอว์ฟอร์ดยังเขียนตำรากฎหมายระหว่างประเทศหลายเล่มและดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการอาวุโสของหนังสือกฎหมายระหว่างประเทศประจำปีของสหราชอาณาจักร (British Yearbook of International Law) ด้วย |
|
 | รายงานพิเศษ: สถานการณ์ศาลโลก ไทย vs. กัมพูชา (ตอนที่ 3: 30 พฤษภาคม 2554 วันชี้แจงวันแรก)
ศาลโลก ณ กรุงเฮก เตรียมให้ตัวแทนจากประเทศไทย และประเทศกัมพูชา เข้าชี้แจงในคดีที่รัฐบาลกัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำตัดสินวันที่ 15 June 1962 ในเรื่องสิทธิในปราสาทเขาพระวิหาร และดินแดนโดยรอบ โดยศาลโลกจะให้ตัวแทนจากทั้งสองประเทศชี้แจงในวันที่ 30 และ 31 พฤษภาคม 2554 โดยตัวแทนประเทศไทยจะเข้าชี้แจงในวันที่ 30 เวลา 16.00 ? 18.00 น. และวันที่ 31 เวลา 17.00 ? 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงเฮก ต่อจากการชี้แจงของตัวแทนจากกัมพูชาทั้งสองวัน |
|
|
|
 | การสาธิตรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของกองทัพบก
ในวันที่ 3 มิ.ย. 54 ทางกองทัพบกได้มีการจัดงานสาธิตการใช้งานรถเกราะ BTR-3E ซึ่งเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ของประเทศไทย ณ พล.ร. 2 รอ. จังหวัดสระแก้วโดยมีรองผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธาน กองทัพบกได้ทำการจัดหารถแบบ BTR-3 ไว้จำนวน 226 คัน โดยได้รับมอบมาแล้วจำนวน 12 คัน |
|
|
 | บทความพิเศษ: บทวิเคราะห์สงครามการก่อการร้ายหลังยุคบิน ลาเดน
แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะประกาศถึงความสำเร็จของปฏิบัติการทางทหารที่มีชื่อว่า Geronimo ที่เข้าสังหารบิน ลาเดน หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งทหารเข้าอัฟกานิสถานนับเป็นเวลาได้ 10 ปี แต่ก็ถือว่าเป็นปฏิบัติการค้นหาตัวบุคคลที่ใช้เวลานานและใช้งบประมาณมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ และก็ไม่ใช่จุดจบของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย รวมถึงตัวก่อการร้ายเอง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศเห็นตรงกันว่า การสังหารบิน ลาเดน นั้น คงไม่ทำให้การก่อการร้ายยุติ อย่างไรก็ตาม จะว่าไปแล้วตัวบิน ลาเดน เอง ในช่วงหลังๆ ก็ค่อนข้างเสียอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของมุสลิมส่วนใหญ่ จากตัวเลขของ Pew Research Center ที่ได้ทำการสำรวจความเชื่อมั่นต่อตัวบิน ลาเดน เปรียบเทียบระหว่างปี 2546 และปี 2554 จะเห็นได้ดังนี้ |
|