วันที่ 23 กันยายน 2564 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
หรือ สทป. ส่งมอบ จลก. 31 ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม.
ให้กับ กองพลทหารปืนใหญ่ เพื่อนำไปทดลองใช้งาน โดยมี
น.อ.คมสันต์ ประพันธ์กาญจน์ รอง ผอ.สทป. เป็นผู้แทน ผอ.สทป. ในการส่งมอบให้กับ
พล.ต.วีระพงษ์ ศรีรัตน์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ ให้เกียรติรับมอบ
ณ กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายสิริกิติ์ จ.ลพบุรี |
สำหรับ จลก. 31
ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. นี้
เกิดขึ้นภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้อง ขนาด 122
มม. แบบอัตตาจร ระหว่าง กองทัพบก และ สทป. โดย สทป. ได้รับมอบ
รถสายพานติดเครื่องยิงจรวดขนาด 130 มม. (จลก.31)
ที่มีระยะยิงไกล 10 กม.
ของกองทัพบกที่ใช้ในราชการอยู่เดิมและมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน มาดำเนินการวิจัยพัฒนาปรับปรุงเพิ่มสมรรถนะและติดตั้งแท่นยิงจรวดหมายลำกล้องขนาด
122 มม. ทดแทนแท่นยิงจรวดขนาด 130 มม.
เดิม ซึ่ง สทป. มีขีดความสามารถในการผลิตลูกจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ที่เป็นลูกจรวดสมรรถนะสูงที่มีระยะยิงไกลสุด
40 กม. ได้เองภายในประเทศ
เป็นการเพิ่มระยะยิงและขีดความสามารถของอาวุธรวมทั้งเป็นแนวทางสู่การพึ่งพาตนเองและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่สำคัญ การดำเนินการได้เปลี่ยนแท่นยิงจรวดขนาด
130 มม. แบบควบคุมด้วยมือที่ใช้งานอยู่เดิม เป็นแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122
มม. จำนวน 20 ลำกล้อง
แบบควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าพร้อมติดตั้งระบบจุดจรวดและระบบระบุพิกัดและชี้ทิศยิงอัตโนมัติ
ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องยนต์และระบบเกียร์ พร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะให้สามารถรองรับแท่นยิงและการใช้งานของระบบจรวดขนาด
122 มม.ได้
โดยใช้กระบวนการวงจรการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product
Lifecycle Management) ในการออกแบบวิจัยและพัฒนาจนเสร็จสิ้น ผลของการวิจัยพัฒนา
จลก.31 ที่ได้รับการปรับปรุง สามารถใช้งานยิงลูกจรวดขนาด 122 มม.
ที่มีระยะยิงไกลสุด 40 กม. ได้ โดยผ่านการทดสอบสมรรถนะและการยิงทดสอบด้วยลูกจรวด DTI-2
ขนาด 122 มม. ระยะยิง 10 กม. และ ระยะยิง 40 กม.
สามารถทำการยิงได้ทั้งแบบทีละนัดและแบบต่อเนื่อง
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการวิจัยและสามารถส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้ทดลองใช้งานเพื่อประกอบการพิจารณาขอรับรองต้นแบบยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกต่อไป
|
ทั้งนี้เป็นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
โดยศึกษาและพัฒนาการทดสอบสมรรถนะและการใช้งาน การปรับปรุงซ่อมบำรุงฟื้นฟูสภาพ
เพื่อเสริมสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ
และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศในการพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
ซึ่งหลังจากการวิจัยจนได้ต้นแบบ จลก.31
ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม.
จะทำให้กองทัพบกจะมีจรวดหลายลำกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมบนแท่นยิงที่ทันสมัยขึ้น
ซึ่งติดตั้งบนรถสายพานลำเลียงพลที่กองทัพบกมีใช้งานอยู่แล้ว โดยถ้ามีความต้องการ
สทป. สามารถใช้ขีดความสามารถด้านการวิจัยและการผลิตในประเทศทำการปรับปรุง จลก.31 เพื่อเข้าประจำการในกองทัพบกได้อย่างรวดเร็ว |
ติดตามผ่านสื่อ Social ที่ : Facebook, Youtube
เว็บไซต์สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ขออนุญาตใช้คุ๊กกี้เพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ท่านสามารถอ่านนโยบายคุ้กกี้ได้ ที่นี่.