 | บทวิเคราะห์: การสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ก้าวแรกสู่ความมั่นคงที่ยั่งยืน ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบจากการรุกรานจากภัยคุกคามทางทหารมาโดยตลอด แต่หลังจากสิ้นสุดของสงครามเย็นดูเหมือนว่าสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงจะมีการพัฒนาการไปในทางที่ดี การเผชิญหน้าทางกำลังทหารลดลงอย่างมาก ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคถึงแม้จะเปลี่ยนนโยบายทางทหารมาสู่การมีกำลังรบเชิงป้องกัน แต่ประเทศต่างๆ ก็ยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารอย่างต่อเนื่อง ด้วยต่างตระหนักว่าในภูมิภาคยังมีปัญหาที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในระดับที่ประเทศต้องใช้กำลังทาทหารเข้าแก้ปัญหาอันได้แก่ ปัญหาความขัดแย้งทางเขตแดน ปัญหาจากสังคมและการเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาการเข้ามาแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจ และปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยก็เช่นกันที่พยายามจะพัฒนาเสริมสร้างเขี้ยวเล็บของกองทัพอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะหยุดชะงักบ้างตามสภาพปัญหาเศรษฐกิจ โดยการจัดหายุทโธปกรณ์ของไทยนั้นถึงจะไม่สูงมากเช่นประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศในภูมิภาค แต่ก็เป็นจำนวนไม่น้อย อีกทั้งจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่งผลให้นอกจากประเทศไทยจะสูญเสียรายได้ให้แก่ต่างประเทศและต้องซื้อของในราคาสูงแล้วยังทำให้เรายังตกอยู่ในสภาพไม่สามารถพึ่งพาตนเองด้านการป้องกันประเทศด้วย .... |
|
 | บทวิเคราะห์: การวิจัยพัฒนาสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์: มิติใหม่ในทศวรรษหน้า
ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบจากการรุกรานจากภัยคุกคามทางทหารมาโดยตลอด แต่หลังจากสิ้นสุดของสงครามเย็นดูเหมือนว่าสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงจะมีการพัฒนาการไปในทางที่ดี การเผชิญหน้าทางกำลังทหารลดลงอย่างมาก ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคถึงแม้จะเปลี่ยนนโยบายทางทหารมาสู่การมีกำลังรบเชิงป้องกัน แต่ประเทศต่างๆ ก็ยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารอย่างต่อเนื่อง ด้วยต่างตระหนักว่าในภูมิภาคยังมีปัญหาที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในระดับที่ประเทศต้องใช้กำลังทางทหารเข้าแก้ปัญหาอันได้แก่ ปัญหาความขัดแย้งทางเขตแดน ปัญหาจากสังคมและการเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาการเข้ามาแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจ และปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยก็เช่นกันที่พยายามจะพัฒนาเสริมสร้างเขี้ยวเล็บของกองทัพอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะหยุดชะงักบ้างตามสภาพปัญหาเศรษฐกิจ โดยการจัดหายุทโธปกรณ์ของไทยนั้นถึงจะไม่สูงมากเช่นประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศในภูมิภาค แต่ก็เป็นจำนวนไม่น้อย อีกทั้งจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่งผลให้นอกจากประเทศไทยจะสูญเสียรายได้ให้แก่ต่างประเทศและต้องซื้อของในราคาสูงแล้วยังทำให้เรายังตกอยู่ในสภาพไม่สามารถพึ่งพาตนเองด้านการป้องกันประเทศด้วย |
|
 | บทวิเคราะห์: ข้อพิพาทน่านน้ำทะเลจีนใต้ ตอนที่ 3: ทิศทางและแนวโน้ม
จากบทความในตอนที่แล้ว แม้จีนจะตั้งใจจริงกับนโยบาย Good Neighbor Policy กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนมากเพียงใด แต่สำหรับทะเลจีนใต้นั้นเป็นเรื่องที่แตกต่าง สำหรับประเทศจีนแล้ว ทะเลจีนใต้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่สำคัญอันยิ่งยวด และไม่สามารถประนีประนอมได้ (Uncompromising) เนื่องจากการที่จีนมีทางออกทางทะเลเพียงด้านเดียว ซึ่งถ้าหากนับประเทศจีนเป็นประเทศมหาอำนาจแล้วก็ถือได้ว่าประเทศจีนจะเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศแรกที่มีทางออกทางทะเลเพียงด้านเดียว ซึ่งหมายความว่าทะเลจีนใต้มีผลต่อความอยู่รอดในฐานะของการเป็นประเทศมหาอำนาจของจีนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ ในเรื่องของการเดินเรือสินค้าเข้าออก เช่นเรือขนวัตถุดิบ เรือขนส่งสินค้านำเข้าส่งออก เรือบรรทุกน้ำมัน และนอกจากเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญแล้ว ทะเลจีนใต้ยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านการประมง และแหล่งพลังงานสำรองอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่คาดกันว่ามีมหาศาลจนได้รับขนานนามว่า ?The next Persian Gulf?ฉะนั้น ด้วยสาเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจีนถึงยอมหักแต่ไม่ยอมงอในเรื่องข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้จนเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 | บทวิเคราะห์: ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2015 กับทฤษฎีการรวมตัวเชิงภูมิภาค : กรณีศึกษาเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในอาเซียน
เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ในปี ค.ศ. 2015 หรือปี พ.ศ. 2558 นั้น อาเซียนจะทำการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการรวมตัวแบบสมาคม (Association) ไปเป็นแบบประชาคม (Community) โดยแบ่งเป็นสามเสาหลักคือ เสาด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community - APSC), เสาด้านประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community - AEC) และ เสาด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) อย่างไรก็ตาม มีหนึ่งในสามเสาหลักที่ดูจะมีปัญหาในการปฏิบัติมากที่สุดนั่นก็คือเสาด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง ซึ่งอันที่จริงแล้วผู้ที่ทำการร่างพิมพ์เขียวของเสาด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint) ก็คาดการณ์ไว้แต่แรกแล้วเช่นกันว่าเสาด้านนี้น่าจะมีปัญหาในการผลักดันมากที่สุด เห็นได้จากประโยคสุดท้ายในหัวข้อ Introduction ของหนังสือพิมพ์เขียวนั้นที่ระบุว่า [t]he APSC Blueprint would also have the flexibility to continue programmes/activities beyond 2015 in order to retain its significance and have an enduring quality. อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรค แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องก็พยายามหาวิธีในการสร้างเสาด้านนี้ขึ้นมาตามเจตนารมณ์ของประชาคมอาเซียน 2015 ให้ได้ ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนรวมถึงผู้เกี่ยวข้องด้านความมั่นคงในอาเซียนได้แสวงหาปัจจัยที่จะสามารถดึงเอาประเทศสมาชิกต่างๆ ของอาเซียนยอมเข้ามาร่วมมือกันเพื่อก่อให้เกิดประชาคมในเสาดังกล่าว โดยหลายท่านได้ชี้ไปที่การหาภัยคุกคามต่อความมั่นคงร่วมกัน (Common Threat) โดยเฉพาะภัยด้านความมั่นคงนอกรูปแบบ (Non-traditional Security) เช่นการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ และภัยธรรมชาติ โดยหวังว่าประเทศสมาชิกจะสามารถแสวงหาจุดร่วมได้จนเป็นจุดก่อกำเนิดให้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงเริ่มต้น ... |
|
 | บทวิเคราะห์: ปัจจัยมนุษย์ในการทำงานร่วมกับอากาศยานไร้นักบิน
แนวความคิดในการใช้งานอากาศยานไร้นักบินหรือ UAV ในทางทหาร เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในยุคที่ 3 ของสงคราม (Third Generation of War: 3GW) หรือในระหว่างยุคสงครามเย็น เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามใหม่จากรถยิงขีปนาวุธแบบ SS-20 ที่มีความคล่องตัวสูงของสหภาพโซเวียต เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการลาดตระเวนและติดตามเป้าหมาย |
|
 | บทวิเคราะห์: จรวดร่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
จรวดร่อน (Cruise Missile) นับเป็นอาวุธฉลาดหรือ Smart Weapon ประเภทหนึ่งที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ระบบอากาศพลศาสตร์ ระบบนำร่อง ระบบสื่อสาร ผนวกเข้ากับระบบอาวุธทางทหารทั่วไปจนก่อให้เกิดระบบอาวุธที่น่าสะพรึงกลัวจนนานาประเทศต่างต้องการมีไว้ครอบครองเพื่อความได้เปรียบในเชิงรุก เชิงรับ หรือเพื่อการป้องปราม จรวดร่อนนั้นเริ่มมีการใช้งานครั้งแรกในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองโดยเยอรมันได้ใช้ระเบิดบินแบบ V-1 ในการโจมตีอังกฤษ ต่อมากองทัพสหรัฐอเมริกาได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและใช้งานจรวดร่อนในสงครามเวียดนาม เรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบันในสมรภูมิอ่าวเปอร์เซียและอัฟกานิสถาน ... |
|
 | บทวิเคราะห์: โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ข้อวิพากษ์ด้านความมั่นคง
ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมานั้น โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายประเทศพม่านั้นได้จุดประเด็นความสนใจในระดับนานาชาติซึ่งไม่ใช่แค่ในเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกหรือแม้แต่ของโลกเท่านั้น แต่โครงการดังกล่าวยังได้จุดประเด็นไปไกลถึงด้านความมั่นคง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
|
 | บทวิเคราะห์: กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น
ในชีวิตประจำวันหรือแม้แต่ในการทำงานมักมีเรื่องที่ต้องทำให้มีการตัดสินใจมากมายทั้งในเรื่องเล็ก ๆ ที่เป็นส่วนตัว หรือในเรื่องสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการใดกิจการหนึ่ง หรือแม้แต่ในการบริหารงานนอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติแล้ว สิ่งสำคัญประการหนึ่งของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหาร คือ การตัดสินใจ (Decision Making) เพราะการตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงาน |
|
|
 | นาโนเทคโนโลยี: นวัตกรรมที่กองทัพไม่ควรมองข้าม
การรบ การทำสงคราม และการดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศเป็นหน้าที่หลักของทหาร ดังนั้นทหารจะต้องมีความพร้อมด้านกำลังรบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งต้องเรียนรู้ ติดตามเทคโนโลยีให้ทันสมัย เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ ความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภารกิจทางทหาร อันจะก่อให้เกิดความได้เปรียบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจในศตวรรษที่ 21 นี้ การศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของวัสดุที่มีขนาดระดับนาโนเมตร หรือ นาโนศาสตร์ (Nano Science) เป็นสหวิทยาการ (Multidisciplinary Area) ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหลายแขนง เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง การค้นคว้าวิจัยต่อยอดด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง จึงพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ... |
|
 | การวิเคราะห์ข้อคำถามแบบลำดับความสำคัญ (Ranking Question Analysis)
ในการที่จะวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งที่ต้องมี คือ ข้อมูล การได้มาของข้อมูลนั้นมีหลายหนทางด้วยกัน และหนทางหนึ่งที่เป็นที่นิยมสำหรับการได้มาซึ่งข้อมูลนั่นคือ การใช้แบบสอบถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เป็นความต้องการของผู้ใช้ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่ความต้องการของผู้ใช้มักจะไม่ใช่ความต้องการเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด จึงควรใช้แบบสอบถามที่มีข้อคำถามแบบจัดลำดับความสำคัญร่วมอยู่ด้วย
ข้อคำถามแบบจัดอันดับ (Ranking question) เป็นข้อคำถามแบบปิด (Close ended question) ประเภทหนึ่ง มีคำตอบเป็นตัวเลือกเพื่อให้แสดงความคิดเห็น โดยการกำหนดระดับความคิดเห็นของผู้ตอบในแต่ละข้อว่ามากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งข้อคำถามต้องการให้ผู้ตอบใส่ตัวเลขเรียงลำดับคำตอบต่าง ๆ ตามความสำคัญจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก โดยเริ่มใส่ตั้งแต่หมายเลข 1 2 3 4 5... ตามลำดับ (โดยต้องกำหนดให้แน่ชัดว่าตัวเลขนั้น หมายถึงมากหรือน้อย) ... |
|
 | พลังงานนิวเคลียร์: เทคโนโลยีที่น่าสนใจ
พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานในรูปต่าง ๆ เช่น ความร้อน แสง รังสี หรืออนุภาคต่าง ๆ ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม และปลดปล่อยพลังงานออกมา การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ |
|